ลูกไม่สบาย Tag

อากาศร้อน ที่สร้างความรำคาญกับทุกคน ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กเล็กคุณแม่จะมีวิธีช่วยคลายร้อนได้อย่างไรบ้าง มาติดตามกันค่ะ เด็กบางคนขี้ร้อน และเมื่อมาเจอช่วงที่ อากาศร้อน มากๆเจ้าตัวน้อยมักมีเหงื่อออกเยอะ เกิดความไม่สบายตัว ทำให้หงุดหงิดง่าย และร้องไห้งอแง ซึ่งการที่ลูกร้องไห้งอแงคุณแม่บางคนอาจมีความกังวลว่าเป็นเพราะลูกหิว หรือเจ็บป่วยรึป่าว ซึ่งด้วยความที่ลูกยังไม่สามารถบอกอะไรคุณแม่ ฉะนั้นสิ่งสำคัญคือการฝึกสังเกตค่ะว่าอากาศ หรืออุณหภูมิที่ร้อนเกินไปก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกร้องไห้งอแงเพราะความไม่สบายตัวนั่นเองค่ะ ฉะนั้นวิธีที่จะช่วยให้เจ้าตัวน้อยสบายตัวขึ้น และอารมณ์ดี มีดังนี้ค่ะ                   1.อาบน้ำสระผมให้ลูกอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ถ้าลูกเหนียวตัวมากๆสามารถอาบน้ำหรือเช็ดตัวเพิ่มได้ เน้นบริเวณข้อพับ เช่น ซอกคอ ซอกแขน และซอกขา พร้อมกับทาแป้งที่เป็นธรรมชาติเพื่อช่วยลดอาการระคายเคือง และความเปียกชื้น (งดใช้แป้งเย็นนะคะ) จะช่วยให้ลูกรู้สึกสบายตัวขึ้น 2....

ลูกเรอ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก หลังการให้นม แล้วจะช่วยลูกได้อย่างไรดีหล่ะ คุณพ่อ คุณเเม่ หลายท่านคงมีความกังวลไม่น้อย เมื่อเจ้าตัวน้อยดูอึดอัด เเละไม่สบายตัวเอาซะเลยเวลาที่ให้นมเสร็จ หรือบางรายอาจมีอาการตั้งเเต่ช่วงกลางๆของการให้นม โดยเฉพาะการให้นมผ่านขวดนม เนื่องจากลูกน้อยมักได้รับลมเข้าไปด้วยกับการดูดนม การทำให้ ลูกเรอ นับเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆเเละเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณเเม่ควรปฏิบัติทุกครั้งหลังการให้นม                     หลังลูกน้อยกินนมแล้ว คุณแม่ต้องช่วยให้ลูกเรอทุกครั้ง เพื่อช่วยระบายลมออกมา จะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกสบาย ไม่แน่นท้อง และเพื่อไม่ให้ลูกหงุดหงิดง่าย และแหวะนม จนอาจร้องไห้โยเย นอนไม่หลับ เกิดอาการโคลิคได้ อ่านบทความ โคลิค 🌟วิธีการช่วยให้ ลูกน้อยเรอ มีอยู่ 3 ท่าง่ายๆดังนี้ 1.อุ้มลูกพาดบ่า  วิธีสุดคลาสสิคที่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย ทุกๆบ้านก็ยังคงใช้วิธีนี้ เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายเเละสะดวกที่สุด ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็สามารถยืนหรือนั่งทำได้เลย...

อุจจาระของลูกเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่บอกกับคุณแม่ว่าเจ้าตัวน้อยมีสุขภาพเป็นอย่างไรบ้าง ตั้งแต่เริ่มลืมตาดูโลก ฉะนั้นคุณแม่จึงต้องสังเกต สีอึลูก เพื่อจะได้เตรียมการอย่างถูกต้องเมื่อลูกมีอาการผิดปกติ สีอึลูก บอกอะไรเราได้บ้างน้า? 1. อุจจาระสีดำ หรือ สีเทาเข้ม เจ้าตัวน้อยที่แรกคลอดภายใน 24 ชั่วโมง อุจจาระครั้งแรกจะมีลักษณะเหนียว มีสีเข้มเกือบดำ เป็นเพราะว่าตอนที่เจ้าตัวน้อยอยู่ในครรภ์คุณแม่ได้กลืนน้ำดีเข้าไป และระบบย่อยอาหารของลูกทำงานตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ อึจึงกลายเป็นสีเทา ถือเป็นลักษณะปกติ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ขี้เทา” แต่ถ้าเจ้าตัวน้อยยังไม่อึภายใน24ชั่วโมง อาจเกิดจากลำไส้อุดตัน จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ นอกจากนี้หลังจากหมดขี้เทาแล้วเจ้าตัวน้อยยังมีอุจจาระสีดำอีกอาจเป็นเพราะในน้ำนมหรืออาหารที่ให้กับเจ้าตัวน้อยมีส่วนผสมของธาตุเหล็กเยอะเกินไป หรือมีเลือดออกในทางเดินอาหาร ซึ่งต้องพาไปพบแพทย์เช่นกัน 2. อุจจาระสีเหลือง เมื่อเจ้าตัวน้อยของคุณแม่คลอดออกมาได้3วัน แล้วช่วงนี้อุจจาระเริ่มเป็นสีเหลือง บางคนขับถ่าย3-4ครั้งต่อวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนมที่ให้เจ้าตัวน้อยทานว่าจะเป็นนมแม่หรือนมผงด้วย อุจจาระที่เป็นสีเหลืองถือว่าเป็นสีปกติ 3....

ทำไมลูกร้องไห้ น้าาาา? ร้องทีไรทำให้คุณแม่หลายท่านกังวลว่าเจ้าตัวน้อยจะเป็นอะไรหรือป่าว?  ทำไมลูกร้องไห้ ลูกน้อยกำลังจะบอกอะไรกับคุณเเม่กันเเน่ 1. หิวจังเลย (หนูหิวแล้ว) :  เมื่อ ลูกร้องไห้ เสียงดังเป็นจังหวะ พร้อมกับท่าทางขยับปาก เป็นสัญญาณการบอกว่าเจ้าตัวน้อยกำลังรู้สึกหิวนมแล้ว ฉะนั้นถึงเวลาที่คุณแม่ต้องให้นมแล้วค่ะ ถึงแม้ว่าคุณแม่อาจจะเพิ่งให้นมไปไม่นาน ในช่วงแรกกระเพาะอาหารของทารกยังรับนมได้ไม่มากและนมแม่ก็ย่อยง่าย ทำให้ลูกหิวบ่อยนั่นเอง ในช่วงเดือนแรกคุณแม่อาจต้องให้นมลูกกินวันละ 6-10 ครั้งต่อวัน 2. ผ้าอ้อมเปียกแย้ว (เปลี่ยนผ้าอ้อมให้หนูหน่อย) : เมื่อเด็กทารกร้องไห้งอแงพร้อมกับท่าทางที่ไม่สบายตัว เป็นสัญญาณที่จะบอกว่า เจ้าตัวน้อยได้ปัสสาวะเปียก หรือขับถ่ายอุจาระแล้ว ถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมใหม่เพื่อไม่ให้ผ้าอ้อมแฉะจนเกินไป 3. ปวดท้องจังเลย (ท้องอืด) :  เมื่อลูกร้องไห้งอแง และเสียงดังมาก พร้อมกับสังเกตที่ท้องแล้วมีลักษณะท้องแข็งหรือตึง...

อาการโคลิค คืออะไร? โคลิค คือ การร้องไห้ที่มีลักษณะรุนแรงเป็นพิเศษ ทารกจะสามารถร้องต่อเนื่องได้นานเป็นชั่วโมงหรือหลายชั่วโมงทีเดียว และมักร้องตรงเวลาเป็นแบบนี้ทุกวันค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดในเวลาช่วงเย็นจนถึงหลังเที่ยงคืน ไม่ว่าจะอุ้ม ปลอบ ร้องเพลงกล่อมอย่างไรลูกก็ไม่หยุดร้อง ให้กินนมก็ดูดๆ หยุด ๆ บางรายกํามือจิกเท้างอขา หลับตาแน่นสลับกับเบิกตาโพลง อาการโคลิค จะเริ่มเกิดขึ้นได้เมื่อ ทารกเมื่ออายุ 2-3 สัปดาห์ และหายเองเมื่อ อายุ 3 เดือน ถึง 5 เดือน โดยอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากทารกกำลังปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่หลังจากที่ออกมาจากท้องแม่ ซึ่งทารกแต่ละคนอาจใช้เวลาปรับตัวที่แตกต่างกัน เมื่อปรับตัวได้แล้วก็จะหยุดร้องไปเอง หรือมีปัจจัยอื่นเป็นตัวกระตุ้น...

ทำไม เเหวะนม อีกเเล้วน้าาาา? สงสัยจริงๆ

หลังจากที่ให้นมเจ้าตัวน้อยแล้ว คุณแม่ควรจับลูกเรอทุกครั้งหลังกินนมเพื่อขับลมออกจากกระเพาะ เพื่อป้องกันไม่ให้ท้องอืด เพราะลมที่ติดอยู่ในท้องก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิด อาการโคลิค นอกจากนี้ยังลดปัญหา เเหวะนม อีกด้วย Dadida เเหวะนม                 ลูกแหวะนม หรือ สำรอกนม ของเจ้าตัวน้อย เกิดจากอะไร? ที่มักพบบ่อยเกิดขึ้นจากสาเหตุดังต่อไปนี้
  1. การให้นมในปริมาณที่มากเกินความต้องการ (overfeeding) คือทานนมบ่อยมากกว่าทุก 2 ชั่วโมง เด็กจะท้องอืด ไม่สบายท้อง หากลดปริมาณนมที่ลูกทานให้อยู่ในระดับที่เหมาะกับวัย อาการก็จะหายไป
แก้ไขได้โดย การให้ทานนมอย่างเพียงพอ แต่ไม่ถี่เกินกว่า 8-10 มื้อต่อวัน ในวัยแรกเกิดถึง 3 เดือน และ ไม่ถี่เกินกว่า 6 มื้อต่อวัน ในทารกอายุมากกว่า 3-6 เดือน หากลูกร้องกวน คุณแม่ควรหาสาเหตุ และแก้ไขอย่างเหมาะสม โดยไม่จำเป็นต้องป้อนนมทุกครั้งที่เจ้าตัวน้อยร้อง
  1. กรดไหลย้อนน้ำย่อย และ/หรือ อาหารจากกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น ไหลย้อนขึ้นยังหลอดอาหาร เนื่องจากว่าหูรูดกระเพาะอาหารเด็กยังไม่แข็งแรง เมื่อทานนมมากเกินไปจนนมล้นกระเพาะขึ้นมาในหลอดอาหาร จึงมีอาการอาเจียนหรือแหวะนมบ่อย ๆ ตามมาได้ เป็นภาวะปกติที่พบบ่อยในเด็กทารก
วิธีดูแล ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานนม โดยให้นมปริมาณไม่มากต่อมื้อ แต่ให้บ่อยขึ้น หากใช้นมผสม ควรใช้สูตรผสมสารเพิ่มความหนืด จับทารกให้อยู่ในท่าตั้งตรงหลังกินนมนาน 15-20 นาที และหลีกเลี่ยงการกดบริเวณท้อง หลังจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประมาณ 2-4 สัปดาห์เด็กมักจะมีอาการดีขึ้น จนหายไปในที่สุดเมื่ออายุครบ 18 เดือน ขวดนมพร้อมจุกดูด Dadida ขนาด 2 ออนซ์

ลูกน้อยเป็นหวัด คำถามน่าสะพรึงกลัวสำหรับคุณเเม่เเละคุณพ่อ จะทำอย่างไรดีนะ? ช่วงนี้มักพบเด็กเป็นไข้หวัดอยู่บ่อยๆ เมื่อคุณแม่ต้องเจอเหตุการณ์แบบนี้ จะต้องเตรียมตัวรับมืออย่างไรดีเมื่อ ลูกน้อยเป็นหวัด กรณีที่ลูกน้อยมีไข้ยังไม่สูงมาก 7 วิธี รับมือและรักษาเมื่อ ลูกน้อยเป็นหวัด เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำอุ่น ไม่ควรใช้น้ำเย็นเพราะจะทำให้หลอดเลือดหดตัว ร่ายกายจะระบายความร้อนได้ไม่ดี เวลาเช็ดตัวให้ประคบ บริเวณศีรษะ หน้าผาก ซอกคอ หลังหู รักแร้ ขาหนีบ ก้นกบ และตามข้อพับต่างๆ เพื่อถ่ายเทความร้อนจากร่างกายมาที่ผ้า การเช็ดตัวให้เช็ดจากปลายมือและปลายเท้าสู่ลำตัวเพราะเป็นการเปิดรูขุมขน ทำให้ระบายความร้อนดี ใช้เวลาราว 10-15 นาที แล้วเช็ดตัวให้แห้งอีกครั้ง สวมเสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี ควรวัดไข้เด็กอีกครั้งหลังจากเช็ดตัวเสร็จแล้ว...

0