สุขภาพลูกน้อย Tag

คุณแม่หลายๆท่าน โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ มักเจอปัญหา ลูกไม่ยอมดูดขวดนม หรือติดเต้า ลองอ่านบทความนี้เพื่อฝึกลูกน้อยเมื่อ ลูกไม่ยอมดูดขวดนม เมื่อใกล้ถึงเวลาที่เจ้าตัวน้อยใกล้ตื่นประมาณ15นาที ซึ่งเป็นเวลาที่เจ้าตัวน้อยเคยดูดนมแม่ สังเกตได้จากการขยับตัว ขยับปากเหมือนจะตื่น ให้คุณแม่ลองป้อนนมเจ้าตัวน้อยด้วยจากขวด โดยระวังไม่ให้ลูกร้องไห้ด้วยอาการหงุดหงิด และโมโหหิว เพราะจะทำให้ ลูกไม่ดูดขวดนม และต้องการดูดนมจากเต้าแม่เพียงอย่างเดียว ลองเปลี่ยนคนป้อนนม จากเดิมที่แม่เคยให้นมเต้า ให้คนอื่นเป็นคนป้อนนมแทนด้วยการใช้ขวดนม นอกจากนี้คุณแม่ควรหลบอยู่ห่างๆจากเจ้าตัวน้อยสักระยะ เพราะเด็กจะได้กลิ่นแม่ และจะร้องไห้ ไม่ยอมดูดนมขวด เปลี่ยนท่าอุ้มสำหรับการป้อนนมจากเดิมที่เคยป้อน เพราะเด็กจะจำได้ว่าถ้าอุ้มท่านี้จะเหมือนท่าที่แม่เคยอุ้มให้นม และจะต้องได้ดูดนมจากเต้าแม่เสมอ ดังนั้นเมื่อเปลี่ยนผู้ให้นมแล้วก็ต้องเปลี่ยนท่าอุ้มในการให้นมด้วยนะคะ เช่นพาไปนั่งเก้าอี้โยก หรือให้นอนในเปลแล้วคอยไกวเปลเพื่อให้เจ้าตัวน้อยยอมดูดนมจากขวดได้ง่ายขึ้น ลองใช้จุกนมที่นิ่มเสมือนนมมารดา...

จุกนมเสื่อม สิ่งเล็กๆที่มีผลอันตรายยิ่งใหญ่ต่อ เจ้าตัวน้อย จุกนม นับเป็นอีกหนึ่งของใช้จำเป็น สำหรับลูกน้อย คุณแม่จึงต้องพิถีพิถัน ในการเลือกจุกนม เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อลูกน้อยให้มากที่สุด การดูแลเรื่องความสะอาดก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อ ป้องกันจุกนมเสื่อมสภาพเร็ว เพราะหากนำ จุกนมเสื่อม แล้วมาใช้ ก็จะส่งผลกระทบอันตรายต่อเจ้าตัวน้อย ชนิดของจุกนม แบ่งออกเป็น 2  ประเภท คือ จุกนมซิลิโคน ทนความร้อน 120 ˚C มีอายุการใช้งาน 6 เดือน ถ้าดูแลอย่างถูกวิธี แต่อาจต้องเปลี่ยนเร็วขึ้นหากผ่านความร้อนสูงบ่อยเกินไป จุกนมยาง ทนความร้อน 100...

เมื่อต้องให้นมลูก แล้วเท่าไหร่จึงจะเพียงพอนะ อาหารของเจ้าตัวน้อย ต้องให้ทานเท่าไหร่นะลองมาดูกันค่ะ อาหารของเจ้าตัวน้อย หลักๆแล้วก็คือนมแม่นั่นเอง ในการให้นมเจ้าตัวน้อยจะมีสูตรการคำนวนตามน้ำหนักของลูกว่าปริมาณความต้องการนมในแต่ละวันของเจ้าตัวน้อยอยู่ที่เท่าไหร่ แล้วแบ่งให้ลูกทานเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ6- 8 ครั้งต่อวัน คุณแม่สามารถคำนวณได้จากสูตรด้านล่าง เพื่อจะได้ลดความกังวลว่าลูกจะทานไม่อิ่ม หรืออิ่มเกินไปค่ะ มาคำนวนปริมาณ อาหารของเจ้าตัวน้อย กันเลยค่ะ สูตรคำนวณ ปริมาณน้ำนม สำหรับลูก แรกเกิด – 1 เดือน (น้ำหนักลูก (กิโลกรัม) x 150) / 30 = ปริมาณนม ใน 1...

ลูกเรอ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก หลังการให้นม แล้วจะช่วยลูกได้อย่างไรดีหล่ะ คุณพ่อ คุณเเม่ หลายท่านคงมีความกังวลไม่น้อย เมื่อเจ้าตัวน้อยดูอึดอัด เเละไม่สบายตัวเอาซะเลยเวลาที่ให้นมเสร็จ หรือบางรายอาจมีอาการตั้งเเต่ช่วงกลางๆของการให้นม โดยเฉพาะการให้นมผ่านขวดนม เนื่องจากลูกน้อยมักได้รับลมเข้าไปด้วยกับการดูดนม การทำให้ ลูกเรอ นับเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆเเละเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณเเม่ควรปฏิบัติทุกครั้งหลังการให้นม                     หลังลูกน้อยกินนมแล้ว คุณแม่ต้องช่วยให้ลูกเรอทุกครั้ง เพื่อช่วยระบายลมออกมา จะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกสบาย ไม่แน่นท้อง และเพื่อไม่ให้ลูกหงุดหงิดง่าย และแหวะนม จนอาจร้องไห้โยเย นอนไม่หลับ เกิดอาการโคลิคได้ อ่านบทความ โคลิค 🌟วิธีการช่วยให้ ลูกน้อยเรอ มีอยู่ 3 ท่าง่ายๆดังนี้ 1.อุ้มลูกพาดบ่า  วิธีสุดคลาสสิคที่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย ทุกๆบ้านก็ยังคงใช้วิธีนี้ เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายเเละสะดวกที่สุด ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็สามารถยืนหรือนั่งทำได้เลย...

การสำลักนม ในเด็กทารก เป็นเรื่องใกล้ตัวที่คุณแม่มือใหม่ต้องระวัง เพราะเมื่อเกิดขึ้นได้แล้วอาจส่งผลต่อชีวิตได้ วันนี้เราจะยกตัวอย่าง 3 ข้อ ถึงสาเหตุ การสำลักนม ในเด็กทารกว่าเกิดจากอะไรบ้าง                   โดยปกติการดูดนมแม่ด้วยการเข้าเต้า โอกาสเกิดการสำลักนมจะเกิดขึ้นน้อยมาก เพราะว่าน้ำนมแม่จะไหลก็ต่อเมื่อเจ้าตัวน้อยมีการดูดเท่านั้น เว้นแต่ว่าเมื่อน้ำนมแม่พุ่งแรงทำให้เจ้าตัวน้อยดูดไม่ทันจึงทำให้เกิดการสำลัก เด็กทารกบางรายมีความผิดปกติของอวัยวะที่เกี่ยวข้องเช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ เด็กเหล่านี้จะมีปัญหาในเรื่องของกล้ามเนื้ออ่อนแรงผิดปกติ หรือภาวะการกลืนผิดปกติ ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการสำลักนมได้มากกว่าเด็กปกติทั่วไป เมื่อคุณแม่ให้เจ้าตัวน้อยดูดนมจากขวดนมแล้วเลือกไซส์ขวดนม และจุกนมที่ขนาดไม่ถูกต้อง ส่งผลทำให้เจ้าตัวน้อยเกิดอาการสำลักเพราะใช้ ขนาดไม่พอดีกับการดูดของทารก ทำให้ปริมาณน้ำนมไหลออกมามากกว่าผิดปกติ จึงเกิดการสำลักนม ซึ่งมีความอันตรายมากเพราะจะให้เกิดอาการทางเดินหายใจอุดกลั้นฉับพลัน และอาจเกิดการเสียชีวิตได้  ดังนั้นหากมีการเลือกขวดนม และจุกนมให้เจ้าตัวน้อย คุณแม่ควรศึกษาเรื่องของการเลือกขนาด ไซส์ วัสดุ...

48ชั่วโมงแรก หลังคลอด เป็นอย่างไรบ้างนะ เมื่อพูดถึงคำว่าแม่ แน่นอนว่าคุณแม่ทุกคนต้องผ่านการคลอดลูกแล้ว หรือคุณแม่ท้องแรก และกำลังรอคลอด ต้องเจอกับเหตุการณ์การคลอดลูก แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่แม่เริ่มตั้งท้องจนกระทั่งคลอดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติได้สร้างมาอย่างลงตัว เพื่อให้เกิดสายใยความผูกพันธ์ระหว่างแม่ และลูก  ฉะนั้นเมื่อคุณแม่คลอดเจ้าตัวน้อยแล้ว 48ชั่วโมงแรก หลังคลอด เป็นอย่างไรบ้างนะ มีความเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้น ระหว่าง คุณแม่ และเจ้าตัวน้อยบ้าง ลองมาดูกันค่ะ   48 ชั่วโมงแรก หลังคลอด สำหรับเจ้าตัวน้อย เป็นอย่างไรบ้างนะ หลังจากที่น้องคลอด หมอจะดูดของเหลวในปาก และจมูกออกเพื่อกำจัดเมือกและน้ำคร่ำให้หมดไปและลูกจะเริ่มหายใจได้ด้วยตัวเอง จากนั้นหมอจะหนีบและตัด (หรือให้คู่ชีวิตของคุณเป็นคนตัด) สายสะดือ จากนั้นพยาบาลจะเช็ดตัวให้เจ้าตัวน้อยจนสะอาดและวางลูกลงบนเครื่องให้ความอบอุ่นทารก จนกว่าจะรักษาอุณหภูมิร่างกายได้ด้วยตนเอง...

ทำไมลูกร้องไห้ น้าาาา? ร้องทีไรทำให้คุณแม่หลายท่านกังวลว่าเจ้าตัวน้อยจะเป็นอะไรหรือป่าว?  ทำไมลูกร้องไห้ ลูกน้อยกำลังจะบอกอะไรกับคุณเเม่กันเเน่ 1. หิวจังเลย (หนูหิวแล้ว) :  เมื่อ ลูกร้องไห้ เสียงดังเป็นจังหวะ พร้อมกับท่าทางขยับปาก เป็นสัญญาณการบอกว่าเจ้าตัวน้อยกำลังรู้สึกหิวนมแล้ว ฉะนั้นถึงเวลาที่คุณแม่ต้องให้นมแล้วค่ะ ถึงแม้ว่าคุณแม่อาจจะเพิ่งให้นมไปไม่นาน ในช่วงแรกกระเพาะอาหารของทารกยังรับนมได้ไม่มากและนมแม่ก็ย่อยง่าย ทำให้ลูกหิวบ่อยนั่นเอง ในช่วงเดือนแรกคุณแม่อาจต้องให้นมลูกกินวันละ 6-10 ครั้งต่อวัน 2. ผ้าอ้อมเปียกแย้ว (เปลี่ยนผ้าอ้อมให้หนูหน่อย) : เมื่อเด็กทารกร้องไห้งอแงพร้อมกับท่าทางที่ไม่สบายตัว เป็นสัญญาณที่จะบอกว่า เจ้าตัวน้อยได้ปัสสาวะเปียก หรือขับถ่ายอุจาระแล้ว ถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมใหม่เพื่อไม่ให้ผ้าอ้อมแฉะจนเกินไป 3. ปวดท้องจังเลย (ท้องอืด) :  เมื่อลูกร้องไห้งอแง และเสียงดังมาก พร้อมกับสังเกตที่ท้องแล้วมีลักษณะท้องแข็งหรือตึง...

อาหารสำหรับเจ้าตัวน้อย เป็นอาหารที่คุณแม่เลือกให้ เจ้าตัวน้อยได้ทานเป็นมื้อ นอกเหนือจากนมแม่ หรือนมผสม เพื่อให้ เจ้าตัวน้อย ได้รับสารอาหารเพียงพอ ต่อการเจริญเติบโต และยังเป็นการปรับตัว จากการกินอาหารที่เป็นลักษณะเหลวมาเป็นแบบกึ่งแข็ง กึ่งเหลว ในช่วงระยะแรก แนะนำว่าในระยะแรกคุณแม่ลองให้น้องทานสัก 2-3 ช้อน ต่อวัน ในเวลาเดียวกันทุกวัน อาหารสำหรับเจ้าตัวน้อย นี้ มีหลักในการให้อย่างไรลองมาดูกันนะคะ ระยะเวลาที่เหมาะกับการเริ่มต้นทานอาหารเมื่อไหร่ดี อาหารสำหรับเจ้าตัวน้อย สามารถเริ่มให้ เจ้าตัวน้อย ทานได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป เพราะเด็กในวัยนี้ต้องการสารอาหารอย่างอื่นเพิ่มเติม เช่น ธาตุเหล็ก พบได้มากในอาหารประเภท ตับ...

พัฒนาการเด็กเเรกเกิด ถึง 3 เดือน เจ้าตัวน้อยออกมาเเล้ว ตอนนี้ พัฒนาการเด็กเเรกเกิด จะมีอะไรบ้างน้า? หากคุณเเม่สงสัย เราตามมาอ่านกันเลยค่ะ พัฒนาการเด็ก วัย 1 เดือน กะโหลกศีรษะจะค่อยๆ เริ่มปิด ลูกน้อยจะมองเห็นในระยะ 8-15 นิ้ว มีการเคลื่อนไหวแขนและขาที่เท่าๆ กัน ทารกจะยกศีรษะขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ร้องไห้เมื่อรู้สึกหิว อึดอัด ไม่สบายตัว มีอาการสะดุ้งเมื่อลูกน้อยตกใจ ตั้งใจฟังเสียงพูดหรือเสียงร้องเพลงมากขึ้น พัฒนาการเด็กวัย 2 เดือน กระโหลกศีรษะเริ่มปิดแล้ว ทำให้เจ้าตัวน้อยมีศีรษะที่แข็งขึ้น มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น...

พัฒนาการ เด็กวัย 10-12เดือน

ตอนนี้ พัฒนาการ ของเจ้าตัวน้อยใกล้ 1 ขวบเข้ามาทุกที ช่วง 10-12เดือน มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เจ้าตัวน้อยมีการพัฒนา และเติบโตขึ้นมาก ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ทั้งนี้คุณพ่อ และคุณแม่ต้องคอยสังเกตุพฤติกรรมของลูกในด้านของความถนัด ความชอบ ไม่ชอบ นอกจากนี้เด็กจะซึมซับในสิ่งรอบๆตัวที่ได้รับเพื่อทำตามค่ะ สำหรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเจ้าตัวน้อยวัย 10-12 เดือน จะมีอะไรบ้าง เราลองมาดูกันนะคะ dadida 10-12เดือน            

พัฒนาการเด็กวัย 10 เดือน

  • กล้ามเนื้อต่างๆแข็งแรงขึ้น หยิบจับอะไรได้มากขึ้น
  • มีความอยากรู้อยากเห็นเพิ่มมากขึ้น มักตื่นเต้นเวลาที่ได้ไปสถานที่แปลกใหม่
  • พูดเก่ง คุยเก่ง  พยายามสื่อสารกับคนรอบข้าง
  • เลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่

พัฒนาการเด็กวัย 11 เดือน

  • เริ่มมีฟันเพิ่มมากขึ้น ทำให้ทานอาหารได้หลากหลายเพิ่มขึ้น
  • เริ่มมีอารมณ์แสดงถึงความชอบ ไม่ชอบ ต่อต้าน
  • สามารถช่วยเหลือตนเองไม่มากขึ้น เช่นในมื้ออาหารหยิบของ
  • ทำท่าทางการสื่อสารได้

พัฒนาการเด็กวัย 12 เดือน

  • เดินได้มั่นคงขึ้น
  • เริ่มค้นหาสิ่งรอบๆที่อยู่ใกล้ พร้อมกับรื้อค้นตามตู้ โต๊ะ หยิบจับรวมทั้งการเอื้อมมือหยิบของ
  • สามารถเรียนรู้เรื่องสี และรูปร่าง
  • กล้ามเนื้อร่างกายมีความแข็งแรงมากขึ้น
                  อ่านบทความเพิ่มเติม พัฒนาการเด็กแรกเกิดถึง3เดือน อ่านบทความเพิ่มเติม พัฒนาการเด็กวัย4-6เดือน อ่านบทความเพิ่มเติม พัฒนาการเด็กวัย7-9เดือน อ่านบทความเพิ่มเติม เล่นกับลูกอย่างไรให้ฉลาด อ่านบทความเพิ่มเติม เล่นกับลูกอย่างไรให้ฉลาด

ทำไม เเหวะนม อีกเเล้วน้าาาา? สงสัยจริงๆ

หลังจากที่ให้นมเจ้าตัวน้อยแล้ว คุณแม่ควรจับลูกเรอทุกครั้งหลังกินนมเพื่อขับลมออกจากกระเพาะ เพื่อป้องกันไม่ให้ท้องอืด เพราะลมที่ติดอยู่ในท้องก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิด อาการโคลิค นอกจากนี้ยังลดปัญหา เเหวะนม อีกด้วย Dadida เเหวะนม                 ลูกแหวะนม หรือ สำรอกนม ของเจ้าตัวน้อย เกิดจากอะไร? ที่มักพบบ่อยเกิดขึ้นจากสาเหตุดังต่อไปนี้
  1. การให้นมในปริมาณที่มากเกินความต้องการ (overfeeding) คือทานนมบ่อยมากกว่าทุก 2 ชั่วโมง เด็กจะท้องอืด ไม่สบายท้อง หากลดปริมาณนมที่ลูกทานให้อยู่ในระดับที่เหมาะกับวัย อาการก็จะหายไป
แก้ไขได้โดย การให้ทานนมอย่างเพียงพอ แต่ไม่ถี่เกินกว่า 8-10 มื้อต่อวัน ในวัยแรกเกิดถึง 3 เดือน และ ไม่ถี่เกินกว่า 6 มื้อต่อวัน ในทารกอายุมากกว่า 3-6 เดือน หากลูกร้องกวน คุณแม่ควรหาสาเหตุ และแก้ไขอย่างเหมาะสม โดยไม่จำเป็นต้องป้อนนมทุกครั้งที่เจ้าตัวน้อยร้อง
  1. กรดไหลย้อนน้ำย่อย และ/หรือ อาหารจากกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น ไหลย้อนขึ้นยังหลอดอาหาร เนื่องจากว่าหูรูดกระเพาะอาหารเด็กยังไม่แข็งแรง เมื่อทานนมมากเกินไปจนนมล้นกระเพาะขึ้นมาในหลอดอาหาร จึงมีอาการอาเจียนหรือแหวะนมบ่อย ๆ ตามมาได้ เป็นภาวะปกติที่พบบ่อยในเด็กทารก
วิธีดูแล ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานนม โดยให้นมปริมาณไม่มากต่อมื้อ แต่ให้บ่อยขึ้น หากใช้นมผสม ควรใช้สูตรผสมสารเพิ่มความหนืด จับทารกให้อยู่ในท่าตั้งตรงหลังกินนมนาน 15-20 นาที และหลีกเลี่ยงการกดบริเวณท้อง หลังจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประมาณ 2-4 สัปดาห์เด็กมักจะมีอาการดีขึ้น จนหายไปในที่สุดเมื่ออายุครบ 18 เดือน ขวดนมพร้อมจุกดูด Dadida ขนาด 2 ออนซ์
11