BPA มาจากคำว่า Bisphenol A เป็นสารเคมีที่นำมาใช้ในการทำพลาสติกใส สำหรับในขวดนม BPA จะช่วยให้พลาสติกมีความใส แข็งแรง ไม่แตกง่าย มีงานวิจัยแล้วพบว่า ภาชนะที่ทำด้วยสาร BPA สามารถซึมลงไปในอาหารหรือเครื่องดื่มได้ เมื่อภาชนะนั้นสัมผัสความร้อน ฉะนั้นเมื่อบริโภคอาหารจาก บรรจุภัณฑ์ที่มีสาร BPA ก็เท่ากับว่าได้รับสารตัวนี้เข้าไปโดยไม่รู้ตัว
สาร BPA มีผลต่อการสร้างเซลล์สมอง ระบบประสาท ความทรงจำ การเรียนรู้ และมีผลต่อฮอร์โมนการเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์ ทำให้เด็กเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วเกินไป นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง
สำหรับในหญิงตั้งครรภ์ หากได้รับสาร BPA จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ความผิดปกติของโครโมโซม อาจทำให้เกิดโรคดาวน์ซินโดรม Hyperactivity หรือแท้ง นอกจากนี้ สาร BPA ยังส่งผลถึงจิตใจซึ่งอาจจะทำให้คุณแม่และลูกน้อยที่เกิดมาไม่มีความรู้สึกของสายสัมพันธ์ระหว่างกัน (Bonding)
การเลือกขวดนม หรือ จุกนม ที่ปลอดภัยสำหรับลูกน้อย ควรเลือกจากวัสดุที่นำมาผลิต
ขวดนม ส่วนใหญ่ผลิตจากพลาสติก มีทั้งขวดใส ขวดขาวขุ่น ขวดสีชา ขวดสีน้ำผึ้ง ทั้งนี้ต้องปลอดภัยจากสาร BPA การสังเกตสัญลักษณ์ก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก
จุกนม ควรเลือกวัสดุที่มีความนิ่ม นุ่ม ทนต่อการยืดหยุ่นอย่างซิลิคอน มีระบบหมุนเวียนของอากาศ ป้องกันการสำลัก(Anticolic) ทั้งนี้ต้องปลอดภัยจากสาร Phthalate (พทาเลท) ซึ่งเป็นสารให้ความนุ่มในจุกนม นอกจากนี้ยังต้องได้รับการรับรองมาตรฐานอีกด้วย
โดยทั่วไปขวดนมจะใช้ได้นานถึง 6 เดือนหลังจากเปิดใช้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานและการทำความสะอาดขวดนม นอกจากนี้การนึ่งและการต้ม ก็มีส่วนทำให้ขวดนมเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ถึงแม้ว่าขวดนมจะสามารถทนความร้อนถึง 100 องศาเซลเซียสก็ตาม ดังนั้นหากขวดนมมีลักษณะขาว ขุ่น มีรอยขีดข่วน หรือรูปทรงเปลี่ยนไป ควรเปลี่ยนขวดใหม่ทันที
จุกนม
โดยทั่วไปควรเปลี่ยนตามอายุของลูกน้อย เพราะปริมาณการดูดนมของทารกในแต่ละวัยจะแตกต่างกัน จุกนมจึงมีหลายไซส์คือ S , M และ L โดยทั่วไปจะเปลี่ยนทุก 3 เดือน ทั้งนี้หากคุณแม่สังเกตว่า จุกนมมีลักษณะชำรุด ขวดเปลี่ยนทันที เพราะอาจส่งผลต่อการดูดนมของลูกน้อย นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับประเภทของจุกนม ตลอดจนการรักษาทำความสะอาดและการจัดเก็บอีกด้วย
หากลูกไม่ดูดนมจากขวด ให้คุณแม่ลองเปลี่ยนจุกนมเป็นแบบที่นุ่มเสมือนจุกนมแม่ และมีความยืดหยุ่น ซึ่งจะทำให้ดูดง่ายขึ้น โดยอาจต้องลองเปลี่ยนท่านั่งในการให้นม หรืออาจเปลี่ยนคนสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างแวดล้อมใหม่ๆให้ลูกน้อย ในช่วงแรกๆคุณแม่อาจต้องใช้เวลาสักหน่อยเพื่อเป็นการฝึกความเคยชินให้กับลูกน้อยด้วย
ขวดนมที่มีขายกันโดยทั่วไปนั้นส่วนใหญ่ทำมาจากพลาสติกประเภท Polypropylene หรือ PP ซึ่งมีความคงทน และแข็งแรง เมื่อถูกล้างทำความสะอาดบ่อยๆ แล้วจะเกิดรอยขีดข่วน เกิดคราบขุ่นๆ รวมถึงเมื่อสัมผัสความร้อนบ่อยๆ สาร BPA ในพลาสติกอาจปนเปื้อนลงไปในน้ำนม หรืออาหารหากสะสมเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสมอง เซลล์ประสาท พฤติกรรม การเรียนรู้ และส่งผลต่อความผิดปกติทางพันธุกรรมของเซลล์ในร่างกายได้ คุณแม่จึงต้องเลือกขวดนมที่มั่นใจว่าปลอดสาร BPA
คุณแม่หลายท่านอาจเคยสงสัยในเรื่องการเลือกไซส์ขวดนมให้ลูกน้อย โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ โดยทั่วไปขวดนมแบ่งออกเป็น 3 ไซส์ ได้แก่
นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับปริมาณการดูดนมของลูกน้อยด้วยว่าลูกกินมากหรือน้อยในแต่ละครั้ง ถ้าลูกยังกินนมน้อยอยู่ แต่ให้ลูกใช้ขวดนมขนาดใหญ่ เช่น ปริมาณการกินนมของลูกอยู่ที่ 4 ออนซ์ แต่คุณแม่ใช้ขวดนมขนาด 8 ออนซ์ ทำให้มีพื้นที่อากาศในขวดเหลือเยอะ ซึ่งอากาศในขวดนี้จะส่งผลให้ลูกมีอาการท้องอืด และปวดท้องได้ แต่ถ้าปริมาณการกินนมของลูกอยู่ที่ 6 ออนซ์ แต่ใช้ขวด 4 ออนซ์ ก็จะทำให้ลูกรู้สึกไม่อิ่ม และร้องหงุดหงิดได้ นอกจากนี้ปริมาณนมที่ใส่ในขวดก็ไม่ควรใส่มากจนเต็มขวดเกินไป เพราะจะทำให้ลูกน้อยดูดนมยาก